เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่เอกสารการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้ระบุถึงกรณีที่แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อหลังจากนี้หากเปลี่ยนไปจากที่ประเมิน กนง. พร้อมที่จะปรับขนาดและเงื่อนเวลาของการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เช่น หากเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วกว่าคาด หรืออัตราเงินเฟ้อเร่งสูงขึ้นต่อเนื่อง กนง. อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่มากกว่า 0.25% ได้ หรืออาจหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวได้ เพื่อรอดูความชัดเจนหากมีความไม่แน่นอนมากขึ้นในระยะข้างหน้า เช่น จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวมากกว่าที่ประเมินไว้
ทั้งนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปยังเป็นแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยพร้อมที่จะปรับขนาดและเงื่อนเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมหากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าเปลี่ยนไปจากที่ประเมินไว้ โดยเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปมีความเหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยในปัจจุบัน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และมีความทั่วถึงมากขึ้นทั้งในธุรกิจภาคบริการ และรายได้ที่มีการกระจายตัวมากขึ้น
ส่วนภาคธุรกิจและครัวเรือนบางส่วนยังเปราะบางโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในบางสาขาธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนรายได้น้อยบางกลุ่มที่ยังอ่อนไหวต่อค่าครองชีพ ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและทำให้การฟื้นตัวสะดุดลงได้ กนง. จึงเห็นว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ควบคู่กับการมีมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนเพื่อดูแลกลุ่มเปราะบาง
นอกจากนี้ กนงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เห็นว่าเงินบาทปรับอ่อนค่าเร็วและต่อเนื่องตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค โดยดัชนีค่าเงินบาท หรือเอ็นอีอีอาร์ ที่อ่อนค่าเพียง 2% ตั้งแต่ต้นปี 65 ทำให้เห็นว่าเงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างสอดคล้องกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้าคู่แข่ง จึงไม่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงยังไม่พบการไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ผิดปกติโดยสถานะเงินทุนเคลื่อนย้ายของไทยตั้งแต่ต้นปียังคงมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ด้านเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังเข้มแข็งสามารถรองรับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก และมีสัดส่วนมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 3 เท่า ประกอบกับไทยมีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศในระดับต่ำเพียง 38% ต่อจีดีพี โดยประเมินว่าการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจะช่วยลดแนวโน้มการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และจำกัดการอ่อนค่าของเงินบาทในระยะต่อไป
ทั้งนี้กังวลว่าการอ่อนค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาทอาจสร้างแรงกดดันด้านต้นทุนเพิ่มเติมต่อผู้ประกอบการและเร่งให้เกิดการส่งผ่านต้นทุนมากขึ้นซึ่งจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ จึงเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าเงินบาทมีความผันผวนสูง