วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1) โดยมีวาระสำคัญ คือ การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

บุคคลที่ถูกเสนอชื่อต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็น ส.ส.ไม่น้อยกว่า 25 คน และการลงคะแนนให้กระทำโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

มติรัฐสภา ไม่เห็นชอบ "พิธา" นั่งนายก

เมื่อเวลา 17.57 น. ผลการลงคะแนนเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ปรากฎว่า สมาชิกรัฐสภาลงคะแนนให้ นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนี้ เห็นชอบ 324 เสียง ไม่ชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง

สรุป รัฐสภา ไม่เห็นชอบให้ นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี สำหรับเสียงที่เห็นชอบ 324 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 311 เสียง และ ส.ว. 13 เสียง

รัฐสภา เริ่มลงมติโหวตเลือกนายก "พิธา"

เมื่อเวลา 15.50 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ปิดการอภิปราย เข้าสูกระบวนการลงมติโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ที่มีการเสนอชื่อ นายพิธา เพียง 1 รายชื่อ โดยการพิจารณาครั้งนี้ ใช้วิธีลงคะแนนโดยเปิดเผยด้วยวิธีขานชื่อเป็นรายบุคคล

สำหรับผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ จะต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา หรือ 376 เสียง

“สมชาย” ชี้“พิธา” ยังไม่เหมาะนั่งนายกฯ ขอเลิกอ้าง 14 ล้านเสียง

เมื่อเวลา 14.14 น. วันที่ 13 ก.ค. ที่รัฐสภา นายสมชาย แสวงการ ส.ว. อภิปรายตอนหนึ่งว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการเลือกประธานาธิบดี หรือการเลือกนายกฯโดยตรง เหมือนที่กลุ่มบุคคลที่เป็นกองทัพอวตารแก้วสามประการพยายามกดทับบูลลี่ ว่านี่คือเสียงข้างมากประชาชนเลือกแล้ว ต้องบังคับให้ส.ว.เลือกด้วย ซึ่ง ส.ว. ทั้งหมดที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยอย่างสมบูรณ์สิทธิมีคะแนนเสียงเช่นเดียว ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น การทำหน้าที่ของส.ว.จะทำด้วยความซื่อสัตย์ นึกถึงผลประโยชน์ประเทศ โดยเอาชาติ ศาสน์ กษัตร์ เป็นที่ตั้ง ทั้งนี้ การเลือกนายกฯก็เหมือนกับที่เราเคยปฏิบัติในฐานะที่เป็นสมาชิกรัฐสภาที่ต้องทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย โดยยืนยันว่า ตลอด 4 ปี ที่ทำหน้าที่ ส.ว.ทั้ง 250 คน พิจารณาเรื่องต่างๆอย่างครบถ้วนสมบูรูณ์ไม่มีอคติ ไม่มีอามิสสินจ้างใดๆ แต่ปรากฎว่าตลอดเวลาที่ผ่านมามีการใช้สมาชิก ใช้มวลชนบนท้องถนน และกองทัพอวตารในโซเชี่ยล โจมตีส.ว. แต่ตนจะทำหน้าที่วันนี้ด้วยความไม่เกรงกลัวใดๆทั้งสิ้น

“สมชาย” บอก “พิธา” ยังไม่เหมาะนั่งนายกฯ ขอเลิกอ้าง 14 ล้านเสียง นายสมชาย กล่าวด้วยว่า ตนพิจารณาการเลือกนายกฯจากความซื่อสัตย์สุจริต มีความรอบรู้ มีวิสัยทัศน์ และสร้างแรงบันดาลใจได้หรือไม่ แต่สิ่งสำคัญคือความมั่นคงของชาติ ตั้งแต่ขอบเขตของรัฐ การปกครอง องค์รัฏฐาธิปัตย์ และหลักนิติธรรม ตนไม่สบายใจการรณรงค์ของคนบางกลุ่ม ที่ยังโหยหาอดีตโดยไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ต์ที่แท้จริง ตนอยากบอกว่าอย่าโหยหาอดีตอีกเลย

"พิธา" สื่อสารไป ยัง ส.ว. ยุตินำสถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง

เมื่อเวลา 15.30 น. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นอภิปราย เพื่อสื่อสารไปยัง ส.ว. ทุกท่าน ที่ตนได้เคยทำงานร่วมกันมาตลอด 4 ปี และท้ายที่สุดแล้วคิดว่าเราไม่แตกต่างกันเท่าไหร่

นายพิธา ยังย้ำว่า วันนี้เป็นประตูแห่งโอกาสที่เราจะสามารถทำงานร่วมกันภายใต้รัฐบาลชุดต่อไป ในการแก้ปัญหาที่เราร่วมกันมาตลอด และความท้าท้ายใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาสู่ประเทศไทยที่เราจะต้องแก้ร่วมกันต่อไป

แต่อย่างไรก็ตาม ผมทราบดีกว่าหลายทั้งยังมีความแคลงใจในตัวผม แล้ววันนี้แสดงให้เห็นชัดว่า น่าจะเป็นเกี่ยวกับนโยบาย จุดยืน เกี่ยวสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นส่วนใหญ่ และวันนี้เมื่อฟังทั้งหมดแล้ว เป้าหมายของเราทั้งหมดเหมือนกัน เพียงแต่วิธีการที่จะประเมิน ที่จะเข้าถึง เป้าหมายนั้นต่างกัน ในมุมมองของตนแล้ว ที่จะทำให้เป้าหมายของเราตรงกัน คือ การธำรงค์ไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อยู่คู่กับประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องไม่อนุญาตให้ใคร ใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการโจมตีกันทางการเมือง ดังนั้น จึงอยากให้ทุกท่านมองในระยะยาว มองไปถึงในอดีตด้วย ปัจจุบัน และอนาคต ที่ผ่านมาสถาบันถูกนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง เพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และกลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์ส่วนตัว และไม่มีเครดิตทางสังคม ล้วนดึงสถาบันมาอ้างอิง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่ว่าจะกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มธุรกิจ

นายพิธา ยังกล่าวว่า ถ้าวันนี้เราไม่ใช่กฎหมาย ม.112 มาเป็นเครื่องมือทำลายล้างกัน ความขัดแย้งของสังคมไทยคงไม่มาถึงจุดนี้ นายพิธา ยังชวนทุกคนมาร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อยุติการนำสถาบันมากล่าวอ้าง มาเป็นประเด็นทางการเมือง แล้วหากุศโลบาย เพื่อที่จะพัฒนา รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันนี้ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จัดวางพระราชฐานะ วางพระราชอำนาจ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ ทำแบบนี้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เรารักถึงจะดำรงอยู่ได้อย่างสง่างามในสังคมไทย

"พิธา" สื่อสารไป ยัง ส.ว. ยุตินำสถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง

ส.ว. "เสรี"ยัน "พิธา"ไม่สมควรเป็นนายกฯ

เมื่อเวลา 13.45 น. นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายว่า การอภิปรายครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความอคติหรือความไม่ชอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แต่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ภายใน 5 ปีให้รัฐสภาชุดแรกทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

คำว่า เป็นบุคคลซึ่งสมควร อยากให้ที่ประชุมได้พิจารณาเป็นสำคัญ ขอกราบเรียนว่า นายพิธา ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่สมควรที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

ก่อนหน้านี้มีผู้สื่อข่าวถามว่า ไม่กลัวเสียงประชาชนที่อยู่นอกสภาที่สนับสนุนนายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ก็ต้องตอบว่ากลัวประชาชน กลัวมาก กลัวว่าจะเข้าใจผิด ว่าวุฒิสภาไม่ให้ความเคารพเสียงประชาชน แต่ด้วยความกลัวเหล่านั้น เราคำนึงถึงการทำหน้าที่วุฒิสภาที่ต้องทำหน้าที่เพื่อรักษา ปกป้องประเทศ ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย

โหวตนายก : "เสรี" เตือนอย่าปลุกม็อบ ถ้า "พิธา" ไม่ได้เป็นนายกฯ

"เสรีพิศุทธ์" ชี้ ม.112 แก้ไขได้

เมื่อเวลา 13.10 น. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย กล่าวว่า วันนี้เป็นการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีแต่กลับมีการอภิปรายในเรื่องของมาตรา 112 เป็นสำคัญ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าหากเลือกพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีจะมีปัญหา เรื่องความมั่นคงของชาติ

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์กล่าวว่า ตนในฐานะอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้มีประสบการณ์ด้านนี้ ว่า ในอดีตมีการวางไว้ว่าชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หากใครดูหมิ่น ต้องระวังโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี ต่อมาปี 2499 ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แก้ไขเป็นจำคุกตั้งแต่ 3 ปีแต่ไม่เกิน 15 ปี ทำให้เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญาแก้ได้ และเป็นเรื่องปกติ รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็ยังแก้ได้ ทำไมประมวลกฎหมายอาญาแก้ไม่ได้

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ระบุด้วยว่า ตนในฐานะที่ตนเคยโดนดำเนินคดี ม.112 จากอดีตนายกรัฐมนตรี ในที่สุดก็ถูกยกฟ้อง ดังนั้นตนเห็นว่าการแก้ไขมาตรา 112 จึงเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้

โหวตนายก : "เสรีพิศุทธ์" ชี้แจงหลักกฎหมาย “ม.112” สามารถแก้ไขได้

ผมตั้งใจทำงานให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยังถูก ยัดเยียดข้อหาได้ แล้วพี่น้องประชาชน ถ้าใช้กฎหมายนี้ต่อไปจะไม่ถูกยัดเยียดหรือ

 โหวตนายก - เกาะติดประชุมรัฐสภา จับตาเลือกนายกรัฐมนตรี

"ครูไทยฯ" 1 เสียง โหวตนายกจากพรรคที่มี ส.ส. อันดับ 1 ก่อน

เมื่อเวลา 13.05 น. นายปรีดา บุญเพลิง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน อภิปรายว่า พรรคมี ส.ส. 1 คน จะยึดมั่นระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยพรรคจะสนับสนุนพรรคการเมืองที่มี ส.ส.มากที่สุดเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นอันดับแรก หากไม่สามารถจัดตั้งได้ ก็จะสนับสนุนพรรคอันดับสองจัดตั้งรัฐบาล หากจัดตั้งไม่ได้ ก็จะสนับสนุนพรรคลำดับที่สี่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และถ้าลำดับที่สี่จัดตั้งไม่ได้ก็จะเป็นลำดับที่ห้าต่อไป

หากไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะเสนอคนนอกเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ และถ้าไม่ได้จริงๆ เรา 750 คน นายกฯ ประยุทธ์ ก็รักษาการต่อไปจนครบ 4 ปี ดังนั้นขอให้ตกลงกันให้ได้

นายปรีดา กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า พรรคยังติดใจนโยบายหรือกฎหมายที่ล้มล้างสถาบันชาติ หรือเพื่อล้มล้างฝ่ายตรงข้าม เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง หรือขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย อันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมวงกว้าง รวมถึงความมั่นคง พรรคก็จะคัดค้านถึงที่สุด และขอถามพรรคก้าวไกลจะดำเนินการเกี่ยวกับ ม.112 หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพรรคการเมืองที่มี ส.ส. 4 ลำดับแรก ประกอบด้วย พรรคก้าวไกล , พรรคเพื่อไทย , พรรคภูมิใจไทย และพรรคพลังประชารัฐ

"อดิศร เพียงเกษ"ร่ายกลอนยืนยันยกมือโหวตเลือกนายก “พิธา”

เมื่อเวลา 11.33 น. นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า การเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 เป็นสนามที่ประชาชนกลั่นกรองพวกเรา การตั้งรัฐบาลที่ผ่านมาประเทศไทย เขาใช้เฉพาะซีกของ ส.ส. แต่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ส.ว.เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ส่วนตัวไม่ขอก้าวก่ายถึงดุลพินิจ เพราะถือว่าทุกท่านมีความรู้ที่จะชี้ผิดชี้ถูก

แต่ความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันได้ การเลือกตั้งซีก ส.ส. ไม่มีพรรคใดได้คะแนนเกินครึ่งหรือ 250 เสียง แต่มีพรรคก้าวไกลได้คะแนนมากกว่าเพื่อน 151 ที่นั่ง และเพื่อไทย 141 ที่นั่ง ลักษณะอย่างนี้ในอดีตง่ายมาก อันดับสองเป็นฝ่ายค้าน แต่ครั้งนี้เป็นไข่เป็ดไข่ไก่ หรือเป็นข้าวต้มมัด จะมัด 2 พรรคไปอยู่ด้วยกัน ห้ามหนีจากกัน จึงมีการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม 8 พรรคการเมือง

ขอเรียกร้องไปทางสมาชิกรัฐสภา จะไม่พูดมากไปกว่านี้ เราจะไม่พูดถึงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ต้องแก้ไข เพราะไมมีที่ไหนในโลกที่ 2 สภาประชุมกันเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี

นายอดิศร ยังฝากลอนทิ้งท้ายด้วยว่า “ขอสัญญาจะเลือกพิธาเป็นนากยฯ ขอสมาชิกรัฐสภายกมือสนับสนุน ประชาชนเขาเลือกมานั้นเป็นทุน พิธาจะทำงานแทนคุณประเทศเอย”

"ชัยธวัช" เตือนสติสมาชิก อย่านำสถาบันมาปะทะกับผลการเลือกตั้ง

ต่อมา นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล อภิปรายสนับสนุนการเสนอชื่อนายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมระบุว่า การเลือกตั้งผ่านมาแล้ว 2 เดือน ประชาชนเฝ้ารอว่านายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคอันดับ 1 อย่างนายพิธา ที่ต้องได้ขึ้นเป็นนายกฯ แล้ว ทุกอย่างต้องเรียบง่าย แต่ตอนนี้กลับมีคำถามในใจของพี่น้องประชาชน หากนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ไม่เป็นไปตามผลการเลือกตั้ง แล้วเราจะมีการเลือกตั้งไปทำไม

นายชัยธวัช ยังกล่าวอีกว่า สมาชิกหลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล หลายคนมีความกังวลใจ ไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง อย่างการเสนอแก้ไข ม.112 ว่าเจตนาที่แท้จริงแล้ว อยู่บนฐานความคิด ว่าสถาบันของชาติ สถาบันการเมืองใดๆ ก็ตาม จะดำรงอยู่ได้ ก็ด้วยความยินยอมพร้อมใจของประชาชน

"ไม่มีสถาบันใด สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการกด ปราบ บังคับ แล้วนี่เป็นสิ่งที่เราพยายามจะเตือน ให้สติกับสมาชิกที่อยู่ในสภาฯ และกับสังคมไทย ผู้มีอำนาจทุกฝ่าย ให้ตั้งสติ แล้วมองการไกล เข้าใจสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน แล้วเล่งเห็นให้ได้ว่า วิธีการอะไรที่ดีที่สุด ที่จะสามารถรักษาสิ่งที่พวกเรารัก สิ่งที่หลายคนหวงแหนให้ดำรงอยู่ให้ได้"

"พิธา" ลั่น! ต้องไม่มีศาลเตี้ยในสภาแห่งนี้ แจงรัดกุมปมถือหุ้น ITV

เมื่อเวลา 11.05 น. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นอภิปราย เพื่อขอใช้สิทธิพาดพิง นายประพันธุ์ คูณมี และนายชาดา ไทยเศรษฐ์ ที่อภิปรายในประเด็นคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี

ว่า "การโหวตนายกรัฐมนตรี ผมยังมีคุณสมบัติสมบูรณ์แบบทุกประการ และมีความชอบธรรมซึ่งในกระบวนการตนยังไม่รู้ว่าข้อกล่าวหาคืออะไรเห็นเพียงผ่านสื่อมวลชน สมมติฐานที่ว่าบริสุทธิ์ไว้ก่อน มีศาลเตี้ยในสภานี้ไม่ได้ตอนยังไม่มีโอกาสในการชี้แจง แม้แต่ครั้งเดียวในปี 62 มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นก็ไม่กระทบต่อการเลือกนายกรัฐมนตรี ผมรัดกุมมาตลอดเกี่ยวกับการยื่น ป.ป.ช. ตั้งแต่เป็น ส.ส.ครั้งแรก ครั้งนี้และครั้งต่อไปเพราะผม ยอมรับในการตรวจสอบ ก็ยังดีกว่าบางคนที่ไม่ยอมรับการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือ ป.ป.ช.ก็ตาม"

โหวตนายก : "พิธา" ลั่น! ต้องไม่มีศาลเตี้ยในสภาแห่งนี้ แจงรัดกุมปมถือหุ้น ITV

ส.ว. "ประพันธ์" ชี้ "พิธา" มีลักษณะต้องห้าม-ถูกร้องถือหุ้นสื่อ

เมื่อเวลา 10.40 น. นาย ประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อภิปรายคุณสมบัติผู้ที่ถูกเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ว่า การเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่มีปัญหาและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากถูกร้องกรณีถือหุ้นสื่อ

นายประพันธ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติพร้อมยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องนี้ และเพื่อให้มีคำสั่งให้นายพิธา พ้นสมาชิกภาพ ส.ส.หรือไม่ ซึ่งศาลได้รับหลักการทางธุรการไปแล้ว และจะได้เสนอคำร้องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาต่อไป อันเป็นข้อเท็จจริงโดยปราศจากข้อสงสัยว่า นายพิธา เป็นคนที่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และในความเห็นของ กกต.ยังชี้ว่านายพิธา หมดสมาชิกภาพของการเป็นส.ส.แล้ว

หากมีคนแย้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำวินิจฉัยอันเป็นที่สิ้นสุด จะถือว่าเขาขาดคุณสมบัติไม่ได้นั้น ปัญหานี้ไม่จำเป็นต้องรอคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดเพราะปัญหาเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครส.ส. ซึ่งเป็นคุณสมบัติเดียวกันกับบุคคลที่จะมาเป็นนายกฯ

โหวตนายก : ส.ว.ประพันธ์ ลุกอภิปรายค้าน “พิธา” นั่งนายรัฐมนตรี

"ชาดา" แถลงจุดยืน "ภูมิใจไทย" ไม่โหวตให้พรรคแก้-ยกเลิก ม.112

เมื่อเวลา 10.10 น. นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย อภิปรายในฐานะตัวแทนพรรคภูมิใจไทย โดยอ่านแถลงการณ์ของพรรค ที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิก ม.112 และขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองที่แสดงเจตจำนงตั้งรัฐบาล แสดงจุดยืนทางการเมืองต่อกรณีการแก้ไขหรือยกเลิก ม.112

แถลงการณ์ชัดเจนว่า ถ้าพรรคการเมืองที่มีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ พรรคภูมิใจไทยพร้อมเป็นฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างมีคุณภาพ และจะคัดค้านแก้ไข ม.112 อย่างเต็มที่

นายชาดา กล่าวอีกว่า ในข้อตกลงร่วมรัฐบาลไม่มีก็จริง ท่านอ้าง 14 ล้านเสียงที่เห็นด้วยกับท่านที่ให้แก้ไข ม.112 แต่ผมเชื่อว่า คนที่ลงให้ท่าน ไม่คิดว่าท่านกำลังแก้กฎหมายให้สถาบัน ไม่เป็นสถาบันหลักของชาติ ไม่ใช่ความมั่นคงของชาติอีกต่อไป

14 ล้านเสียงไม่ถึง 20% อย่านึกว่ามันมากมาย อย่าหลงระเริงคำว่า 14 ล้านเสียง ไม่ใช่เรื่องชี้ขาดของประเทศนี้ มันเป็นเรื่องที่ท่านต้องดูแลคนทุกคน และปัญหาความมั่นคงของชาติ หากจะอ้างอย่างนี้ก็ลำบากประเทศไทย

เปิดประวัติ "ชาดา ไทยเศรษฐ์" รมช.มหาดไทย "ครม.เศรษฐา 1"

โหวตนายก : "ชาดา ไทยเศรษฐ์" ไม่เลือกนายกให้พรรคแก้ ม.112 ลั่นอย่าหลงระเริง 14 ล้านเสียง

10.00 น.นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย "ขอเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี"

"พิธา"มั่นใจทำย่างเต็มที่ พร้อมอธิบายความแคลงใจกับ ส.ว.เพื่อหาฉันทามติร่วมกัน

ในส่วนประเด็นศาลรัฐธรรมนูญได้รับหลักการทางธุรการตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กตต.) ยื่นให้พิจารณาคุณสมบัติการเป็นส.ส. กรณีถือหุ้นไอทีวี นายพิธา กล่าวว่า คิดว่าขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ซึ่งยังมีเวลา และต้องแยกทั้ง 2 เรื่องออกจากกัน วันนี้เป็นกระบวนการทางรัฐสภาประชาชนรอมา 2 เดือนเต็มๆ

เริ่มประชุมรัฐสภา จับตาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

เมื่อเวลา 09.30 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือ วันนอร์ เปิดประชุมรัฐสภา พร้อมกล่าวว่า จะทำหน้าที่อย่างเป็นกลางและทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของประชาชน ประเทศชาติ และเกียรติและศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภา

สำหรับการประชุมวันนี้ หลังจากที่มีการเสนอชื่อบุคคลสมควรเป็นนายกรัฐมนตรี จะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามของผู้ได้รับการเสนอชื่ออย่างทั่วถึง ฝ่ายเป็น ส.ว. 2 ชั่วโมง และ ส.ส. 18 พรรคการเมือง 4 ชั่วโมง แบ่งเป็นกลุ่ม 8 พรรคการเมืองที่กำลังจัดตั้งรัฐบาล 2 ชั่วโมง ทั้งนี้การอภิปรายควรจะยุติก่อน 17.00 น.

“เพื่อไทย” ประชุม ส.ส. ก่อนโหวตนายก ชู “อดิศร” ขึ้นอภิปราย

ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายมีมติให้เวลาอภิปรายรวมทั้งหมด 6 ชั่วโมง แบ่งเป็น ส.ว. 2 ชั่วโมง และ ส.ส. 4 ชั่วโมง ซึ่งใน 8 พรรคร่วมรัฐบาล จัดส่งตัวแทนพรรคละหนึ่งคนเพื่อลุกขึ้นอภิปราย เพื่อไม่ให้รบกวนเวลาในการประชุม โดยในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย ได้ส่งนายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยเป็นผู้อภิปราย

โหวตนายก : “เพื่อไทย” ประชุม ส.ส. ก่อนเลือกนายก ชู “อดิศร” ขึ้นอภิปราย

"ประยุทธ์"ออกงานแรกหลังประกาศวางมือการเมือง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเดินทางมาเป็นประธานพิธีทำบุญและเปิดป้ายอาคารสำนักงบประมาณ แห่งใหม่ ซึ่งเป็นภารกิจแรกหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศวางมือทางการเมือง และลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยรักษาชาติ (รทสช.)

โดย พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางมาถึงบริเวณงานในเวลา 09.26 น. โดยมีท่าทีและสีหน้าที่ยิ้มแย้ม ก่อนทักทายกับบรรดาผู้บริหารสำนักงบประมาณ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า สบายใจขึ้นหรือไม่ภายหลังประกาศวางมือทางการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ ปฏิเสธตอบคำถาม เพียงแค่ยิ้มและพยักหน้าให้เท่านั้น

โหวตนายก : “ประยุทธ์” ยิ้ม-พยักหน้ารับ สบายใจขึ้นหลังประกาศวางมือการเมือง

ส.ว. "จเด็จ"ย้ำ ไม่โหวต "พิธา"แน่นอน เหตุแก้ ม.112

ส.ว.จเด็จเผย วันนี้จะไม่โหวตให้พิธาเป็นนายกอย่างแน่นอน เนื่องจากยังมีนโยบายแก้ไขกฎหมายมาตรา 112และจะรอดูนายพิธาแสดงวิสัยทัศน์ และอาจจะเป็นหนึ่งในคนตั้งคำถาม ส่วนที่มีกระแสกดดัน มีม็อบกดดัน ตนเองไม่ได้รู้สึกว่ากดดันอะไร ถือว่ากระบวนการประชาธิปไตยก็ทำงานไป

โหวตนายก: “ส.ว.จเด็จ” ย้ำ ไม่เลือก “พิธา” แน่นอน เหตุแก้ ม.112

โหวตนายก : “อมรัตน์” เชื่อโหวต “พิธา” ครั้งเดียวผ่าน ถึงเวลาหลุดพ้นจากปลักที่จมมานับ 10 ปี

"อลงกรณ์"ขอให้ทุกฝ่ายมีสติ ยอมรับผลเลือกตั้ง ย้ำ "แพ้คือแพ้ ชนะคือชนะ"

นายอลงกรณ์ พลบุตร รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ กับ พีพีทีวี เอชดี 36 วอนขอให้ทุกฝ่ายมีสติ เห็นแก่ประเทศชาติ และเคารพผลการเลือกตั้ง ไม่อยากให้เกิดความรุนแรง เชื่อแก้ไข ม.112 ไม่ง่ายต้องผ่านการลงมติของ ส.ส. และ ส.ว. ยันพรรคก้าวไกลเป็นศัตรูทางการเมือง แต่ประชาธิปไตยต้องมีสปิริต “แพ้คือแพ้ ชนะคือชนะ” ย้ำการแข่งขันจบแล้ว จากนั้น 4 ปี ค่อยมาเลือกตั้งใหม่

โหวตนายก : “อลงกรณ์” ขอให้ทุกฝ่ายมีสติ ยอมรับผลเลือกตั้ง ย้ำ “แพ้คือแพ้ ชนะคือชนะ”

ส.ส.ก้าวไกลนัดแต่งส้ม แสดงออกเชิงสัญลักษณ์

นายปารมี ไวจงเจริญ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เปิดเผยก่อนการประชุมร่วมรัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ว่าซึ่งในวันนี้ ส.ส.หญิงของพรรคก้าวไกล ได้นัดหมายผ่านกลุ่มไลน์แต่งกายโดยมีชุดสีส้ม เพื่อเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์ ส่วนส.สผู้ชายก็มีนัดกัน ผูกเนคไทสีส้ม

วันนี้ส้มทั้งแผ่นดิน ขอเชิญ ประชาชนทุกคนร่วมส่งนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เราต้องการทำมติที่ประชาชนได้เลือกตั้งมา ดังนั้นเสียงของประชาชนก็คงไม่มีความหมาย

"สุทิน"กังวลเลือกนายกไม่จบวันนี้ เพราะจะมีคนเสนอเลื่อน

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ยอมรับว่าไม่มั่นใจว่าวันนี้จะได้นายกฯ เพราะทราบว่าจะมีคนเสนอเลื่อน แต่ถ้าไม่มีคนเสนอเลื่อนก็น่าจะจบในวันนี้ ก็ต้องรอดู และไม่มีความกังวล เพราะเข้าใจธรรมชาติ ของ ส.ว.ว่ามีที่มาหลากหลาย และมีความเห็นหลากหลายเช่นกัน

โหวตนายก : “สุทิน” กังวลเลือกนายกไม่จบวันนี้ เพราะจะมีคนเสนอเลื่อน

"ชาติไทยพัฒนา" ยืนยันไม่โหวตพรรคที่จะแก้ไขมาตรา 112

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ระบุว่า พรรคชาติไทยพัฒนา ยืนยันไม่โหวตพรรคที่จะแก้ไขมาตรา 112 แต่จะมีการเลื่อนการประชุมหรือไม่นั้นต้องหารือในที่ประชุมรัฐสภาก่อนมีถึง 750 เสียง เข้าใจการชุมนุมที่เกิดขึ้น แต่ขอให้อยู่ในกรอบที่ทำได้

โหวตนายก: ชาติไทยพัฒนา ถกส.ส.ก่อนเลือกนายกฯ จุดยืนไม่แก้ ม.112

"ชลน่าน" ยืนยัน เสียงของพรรคเพื่อไทย "ไม่มีแตกแถว"

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับพีพีทีวี เอชดี 36ขณะกำลังเดินทางไปยังรัฐสภาบอกว่า “พรรคเพื่อไทยและ 8 พรรคร่วม พร้อมที่สุด” และยืนยันว่า“ในส่วนของ 312 เสียง ผมมั่นใจ โดยเฉพาะของเพื่อไทย 141 เสียง ไม่มีแตกแน่นอน”

โหวตนายก : “ชลน่าน” ยัน เลือกนายกฯ เพื่อไทยไม่มีแตกแถว

"ประยุทธ์"กำชับเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย โหวตนายกรัฐมนตรีคำพูดจาก เว็บสล็อต ดีที่สุดในไทย

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับเจ้าหน้าที่และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านความมั่นคง ตำรวจ ทหาร กรุงเทพมหานคร เตรียมความพร้อมรับมือ ดูแลสถานการณ์ให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยและปลอดภัยกับทุกฝ่าย ยึดหลักการปฏิบัติตามกฎหมายและหลักสากลในการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม

ขณะที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้เตรียมแผนการรักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกการจราจร และการบริหารจัดการพื้นที่รัฐสภา ร่วมมือกับ กทม. จัดสถานที่รองรับการชุมนุมบริเวณพื้นถนน 1 ช่องจราจร และทางเท้าภายในศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร เกียกกาย (ฝั่งสนามเด็กเล่น) พื้นที่ 710 ตร.ม. รองรับผู้ชุมนุมได้ประมาณ 100 – 200 คน ซึ่งเป็นไปตามประกาศกรุงเทพมหานคร

"กิตติศักดิ์" ลั่น "ส.ว."ส่วนใหญ่งดออกเสียง จับตาวันที่ 19 ก.ค. เลือดท่วมจอเหมือนละคร

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะสมาชิกวุฒิสภา เดินทางมาถึงรัฐสภา พร้อมให้สัมภาษณ์ก่อนการเข้าประชุม ถึงทิศทางการโหวตนายกรัฐมนตรีจากฝั่ง สว.ว่า จะปิดสวิทต์ตัวเองโดยการงดออกเสียง แต่ตัวเองยืนยันจุดยืนเดิมคือ ไม่โหวตให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนเดิม

แม้วันนี้จะเปิดการประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ แต่เชื่อว่า จะไม่สามารถโหวตนายกรัฐมนตรีจบภายในวันนี้ได้ และให้จับตาดูวันที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งเป็นอีกวันที่มีการกำหนดให้โหวตนายกรัฐมนตรี และจะเกิดการณ์เลือดท่วมจอเหมือนละคร

โหวตนายก : “ส.ว.กิตติศักดิ์” ลั่น งดออกเสียง ไม่เลือก "พิธา" เป็นนายกรัฐมนตรี

บรรยากาศก่อนเปิดประชุมสภาฯ โหวตนายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทย

เหลืออีก 2 ชั่วโมง จะถึงเวลาเปิดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ระหว่างส.ส.และสว. เป็นครั้งแรก วาระสำคัญคือ การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งชัดเจนแล้วว่า 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล จะมีการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตนห์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่เช้า เริ่มมี ส.ส.ทยอยเข้าพื้นที่แล้ว ขณะที่การรักษาความปลอดภัยภายในรัฐสภาเป็นไปอย่างเข้มงวด

ตำรวจเตรียมรับมือมวลชน นำรถบรรทุกน้ำ-รถฉีดน้ำแรงดันสองคัน เข้าประจำสภาฯ

ปิดจราจรหน้ารัฐสภา-แนะเส้นทางเลี่ยง รับมือม็อบโหวตนายกฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่หน้ารัฐสภาเวลา 06.00 น. วันนี้ 13 ก.ค. 2566 ตำรวจได้ทำการปิดกั้นบางส่วน และ เตรียมกำลังอยู่หน้าสภา มีมวลชนบางส่วนเดินทางมารวมตัวกันแล้วโดยมี พ่อค้า-แม่ค้า เอาแก้วน้ำ หมวก ที่มีสัญลักษณ์พรรคก้าวไกลมาขายในพื้นที่ด้วย

ก่อนหน้านี้ เวลา 00.20 น.ตำรวจ นำรถบรรทุกน้ำสองคัน , รถฉีดน้ำแรงดันสองคันพร้อมกับรถเครื่องขยายเสียงอีกหนึ่งคัน เข้าประจำการภายในอาคารรัฐสภา

By admin