สำนักข่าวบลูมเบิร์กออกบทความวิเคราะห์ว่า การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประเทศไทยของ นายเศรษฐา ทวีสิน ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับสหรัฐฯ ในรอบกว่า 10 ปี ที่จะทำให้ความเป็นพันธมิตรกับไทยกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง หลังจากที่ความสัมพันธ์ห่างเหินและตึงเครียดไปไม่น้อยภายใต้การปกครองของทหารก่อนหน้านี้

นายเศรษฐาจะอยู่ที่นิวยอร์กในสัปดาห์นี้เพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 78 และมีรายงานว่าจะมีการเจรจาด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ด้วย

“เศรษฐา” ประกาศ มุ่งมั่นขับเคลื่อน SDGs ลดความยากจน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นายกฯเศรษฐา พบผู้นำการเงินรายใหญ่ของสหรัฐฯ ดึงลงทุนในไทย

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” วาระสำคัญประชุม UNGA

บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยดูเหมือนจะต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับชาติตะวันตก ดังจะสังเกตได้จากที่มีรายงานว่า เขามีแผนที่จะดึงดูดการเจรจาจากบริษัทสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น ไมโครซอฟต์ กูเกิล หรือเทสลา เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ล่าช้าของประเทศไทย

แม้ยังไม่ชัดเจนว่า นายเศรษฐาจะได้มีโอกาสหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน หรือไม่ แต่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ รายหนึ่งกล่าวว่า สหรัฐฯ มองเห็นโอกาสที่หาได้ยากที่จะพัฒนาความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญในหลายด้านกับไทย ตั้งแต่การลงทุนและการค้า ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและพลังงาน รวมถึงเรื่องของยุทโธปกรณ์ทางทหาร และการอัปเกรดเครื่องบินขับไล่ของไทย

การทำเช่นนี้ คาดว่าจะสามารถช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์กับไทย ซึ่งช่วงหลังมีความใกล้ชิดกับจีน เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ พยายามกระชับมิตรกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจีนแผ่อิทธิพลเข้ามามากขึ้น

ด้าน ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า “การรัฐประหารในปี 2014 สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อความเข้มแข็งระหว่างประเทศของไทย และบีบให้รัฐบาลทหารต้องขอการสนับสนุนจากจีน และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นโยบายต่างประเทศของไทยก็ตกเป็นเหยื่อของจีน … ดังนั้น ด้วยรัฐบาลใหม่ คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง”

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย รวมถึงยังมองว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรด้านการบังคับใช้กฎหมายที่สำคัญในภูมิภาค

ความสัมพันธ์เหล่านั้นห่างเหินและตึงเครียดจากวงจรรัฐประหารและการลงถนนประท้วงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลทหารปราบปรามกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตย ในปี 2014 สหรัฐฯ ประณามการรัฐประหารที่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยตัดทอนความช่วยเหลือทางการเงิน

ความจำเป็นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ผลักดันให้ไทยใกล้ชิดกับจีนมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นแหล่งการลงทุนอันดับต้น ๆ ของไทย ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยระบุ บริษัทจีนให้คำมั่นว่า จะระดมทุน 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.1 หมื่นล้านบาท) ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

เศรษฐากล่าวหลังจากเปิดเผยว่าเขาจะเดินทางไปเยือนจีนในเดือนหน้าว่า “เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ มาเป็นเวลา 160 ปีแล้ว สำหรับจีน เรามีลูกหลานชาวจีนหลายคนรวมถึงผมด้วย”

เขาเสริมว่า “จีนยังเป็นกุญแจสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของเราในอนาคต เราจำเป็นต้องรักษาจุดยืนที่เป็นกลางและไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง”

ด้าน พันโทมาร์ติน ไมเนอร์ส โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน บอกว่า เพนตากอนมีแผนจะดำเนินความร่วมมือในขอบเขตใหม่ ๆ กับไทย เช่น อวกาศและไซเบอร์สเปซ และในโครงการการศึกษาด้านความมั่นคง และการฝึกซ้อมทางทหารแบบผสมผสาน

“เราจะยังคงแสวงหาโอกาสในการมีส่วนร่วมกับพันธมิตรไทยของเราในประเด็นด้านความมั่นคงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงกองทัพไทยให้ทันสมัย” เขากล่าว

นอกจากนี้ การที่สหรัฐฯ ต้องการกระชับความสัมพันธ์กับไทย ส่วนหนึ่งอาจเพื่อร้องขอการสนับสนุนจากไทยเกี่ยวกับความขัดแย้งในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพยายามขยายเส้นทางมนุษยธรรม

โจทย์สำคัญหลังจากนี้คือ นายกฯ เศรษฐาจะต้องตัดสินใจว่า เขาต้องการจะไปไกลแค่ไหนในการกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ รวมถึงต้องชาญฉลาดในการหาสมดุลในการสานสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และจีน

เรียงเรียงจาก Bloomberg

ภาพจาก TIMOTHY A. CLARY / AFP

รวม iPhone รุ่นที่ไม่ได้ไปต่อในการอัปเดต "iOS 17"

โปรแกรมการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 2022 ประจำวันพุธที่ 20 ก.ย. 66 คำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ

 สื่อนอกวิเคราะห์ สหรัฐฯ ต้องการสานสัมพันธ์ไทยภายใต้รัฐบาลเศรษฐา

เปิดโปรแกรมวอลเลย์บอลชายไทย ทำศึกเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 พีพีทีวี ยิงสด

By admin